make a website for free

เกณฑ์การตัดสินการสอบแข่งขัน
“วิทยาศาสตร์เพื่อการป้องกันอุบัติภัย
และโรคระบาดโควิด-19”

1. การแข่งขันภาคทฤษฎี 

ผู้สมัครเรียนรู้ภาคทฤษฎีผ่านหลักสูตรออนไลน์ เพื่อศึกษาหาความรู้เรื่องอุบัติภัยและโรคระบาดโควิด-19 และเรื่องอื่น ๆ เพื่อให้มีความรู้นำไปใช้ในการสอบและการออกแบบโครงงานวิทยาศาสตร์ฯ ด้วยตนเอง อย่างไรก็ตาม สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดีและมหาวิทยาลัยมหิดล มีความรู้สำหรับเด็กมากมายที่ศึกษาได้ มีทั้งแบบที่ได้ประกาศนียบัตรด้วย เช่น 

• หลักสูตรที่ 1 “หลักสูตรเยาวชนไทย กู้ภัยโควิด”

• หลักสูตรที่ 2 “หลักสูตร The Safety Hunter ภารกิจพิชิตจุดเสี่ยง”

• ช่องความรู้เพิ่มเติมในยูทูป “NICFD Channel” ช่องความรู้เพิ่มเติมในยูทูป และ “จุดเสี่ยง csip”

• ช่องความรู้อื่นๆ เพิ่มเติม

• เข้าดูและฟังการติวสอบ และตอบคำถามการทำโครงการ ในรายการ “ติวสอบ วิทยาศาสตร์อุบัติภัยและโควิด 19.” ลงทะเบียนฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย โดย พี่ๆใจดีจาก สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ม.มหิดล และคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ใน website NICFD และ CSIP

2. การแข่งขันภาคปฏิบัติ 

ผู้สมัครจัดทำคลิปวิดีโอ หัวข้อ “ออกแบบโครงงานวิทยาศาสตร์ เพื่อป้องกันโควิด-19 ภายในครอบครัว”  คะแนนเต็ม 100 คะแนน โดย 

2.1 ผลงานการออกแบบวิธีการป้องกันโควิด-19 ต้องแสดงให้เห็นถึงกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ดังนี้ 

• การสังเกต/ระบุปัญหา (สำรวจว่าครอบครัวตนเองมีความเสี่ยงหรือปัญหาเกี่ยวกับโควิด-19 อะไรบ้าง)

 • การตั้งสมมติฐาน/ออกแบบวิธีแก้ปัญหา

• ทำการทดลองแก้ไขปัญหา และวัดผลว่าได้ผลอย่างไร

• สรุปผล

2.2 คุณสมบัติคลิปวิดีโอ ต้องมีความยาวคลิป ไม่น้อยกว่า 2 นาที แต่ไม่เกิน 5 นาทีประเภทคลิป ใช้คนแสดงจริง โดยรูปแบบไฟล์และขนาดคลิป .MP4 resolution VDO มีขนาดไม่เกิน 250 MB width 1280 x height 720 pxl.

2.3 เงื่อนไขสำคัญ 

• ผู้ที่ส่งคลิปเข้าประกวด ต้องเป็นผู้ถ่ายคลิปนั้นด้วยตนเองหรือถ่ายร่วมกับทีมงาน ห้ามนำคลิปของผู้อื่นมาส่งประกวด

• ส่งได้ไม่เกิน 1 คลิปต่อ 1 คน

• คลิปที่ส่งประกวด ต้องไม่มีลิขสิทธิ์ผูกพันกับบุคคลหรือองค์กรใด 

• หากมีการนำข้อมูล ภาพ เสียง ฯลฯ ของผู้อื่นมาอ้างอิงในคลิป โปรดใส่ชื่อและแหล่งที่มาเพื่อให้เกียรติเจ้าของ

• ผู้จัดมีสิทธิ์ในการพิจารณาปฏิเสธคลิป หรืองดเผยแพร่คลิปที่เห็นว่าไม่เหมาะสม เช่น ละเมิดลิขสิทธิ์, ขัดต่อกฎหมาย

• เจ้าของคลิป ยินยอมให้ผู้จัดนำคลิปไปเผยแพร่เพื่อเป็นประโยชน์แก่สาธารณะ (ทั้งคลิปที่ได้และไม่ได้รางวัล) โดยไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์แก่เจ้าของคลิป

• ผลตัดสินของกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด

2.4 ช่องทางส่งคลิปวิดีโอส่งคลิปวีดีโอโดยระบุ ชื่อ-นามสกุล ระดับชั้นเรียน เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้ และแนบคลิปวีดีโอ ที่อีเมล marisa.nim@mahidol.edu 

2.5 หมดเขตส่งคลิป วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564

3. การสอบภาคทฤษฎี ผ่านระบบ ZOOM  

การสอบภาคทฤษฎี ในวันอาทิตย์ ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 ผ่านระบบ ZOOM Application สอบภาคทฤษฎี 40 ข้อ ประกอบด้วยคำถามเรื่อง วิทยาศาสตร์อุบัติภัย 20 ข้อ วิทยาศาสตร์โรคระบาด โควิด-19 จำนวน 20 ข้อ คะแนนเต็มเท่ากับ 100 คะแนน โดยมีรายละเอียดเวลาสอบ ดังนี้

• ป.1-3 สอบเวลา 09.00 - 11.00น.

• ป.4-6 สอบเวลา 12.30 - 14.30น.

• ม.1-3 สอบเวลา 15.00 - 17.00น.

เกณฑ์การตัดสินคลิปวีดีโอ คะแนนโครงการ 100 คะแนน คะแนนสอบ 100 คะแนน รวมคะแนน 200 คะแนน โดยมีรายละเอียดดังนี้

• คะแนนภาคทฤษฎี (เต็ม 100 คะแนน) แบ่งเป็น แบบทดสอบวิทยาศาสตร์การป้องกันอุบัติภัย 20 ข้อ (50 คะแนน) และ แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์โรคระบาดโควิด -19 จำนวน 20 ข้อ (50 คะแนน)

• คะแนนภาคปฏิบัติ (เต็ม 100 คะแนน) แบ่งเป็น

- (30 คะแนน) ผลงานที่ปรากฏในคลิป เป็นการออกแบบจริง และมีการปฏิบัติจริง โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ครบถ้วนได้แก่ ค้นหาปัญหา ตั้งสมมติฐานการแก้ไขปัญหา ดำเนินการแก้ไขปัญหา และประเมินผล สรุปข้อดีและเสีย

- (30 คะแนน) ผลงานที่ปรากฏในคลิป แสดงให้เห็นถึงการรับรู้ปัญหาความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิดจริงของคนครอบครัวตนเอง ความพยายามที่จะคิด และจะปฏิบัติ เพื่อปรับเปลี่ยนความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิดจริงของคนครอบครัว (จะสำเร็จ หรือไม่สำเร็จก็ได้ พิจารณาที่ความพยายาม และความคิดสร้างสรรค์)

- (10 คะแนน) ผลงานที่ปรากฏในคลิป น่าสนใจ น่าติดตาม มีความคิดสร้างสรรค์

- (10 คะแนน) เนื้อหา/ข้อมูลที่ปรากฏในคลิปมีความถูกต้อง

- (10 คะแนน) วิธีนำเสนอน่าสนใจ, อธิบายชัดเจน, อยู่ในเวลาที่กำหนด

- (10 คะแนน) เจ้าของผลงาน ผ่านการเรียนภาคทฤษฎีหลักสูตรออนไลน์อย่างน้อย 1 หลักสูตร


เกณฑ์การตัดสิน

คะแนนโครงการ 100 คะแนน
คะแนนสอบ 100 คะแนน
รวมคะแนน 200 คะแนน

ตัวอย่าง

ตัวอย่างการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ หัวข้อการป้องกันโควิด-19 อย่างง่าย

ตัวอย่างที่ 1

รู้จักโครงงานวิทยาศาสตร์อย่างง่าย
โดย คุณจุฑามาศ รักษาสวัสดิ์
(นศ.ปริญญาโท สาขานวัตกรรมเพื่อการคุ้มครองเด็ก)

ตัวอย่างที่ 2

ขั้นตอนการทำโครงงานวิทยาศาสตร์
 โดย คุณวิภาพร อุ่นเจริญกุล
(นศ.ปริญญาโท สาขานวัตกรรมเพื่อการคุ้มครองเด็ก)

ตัวอย่างที่ 3

รู้จักโครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง
กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ
โดย คุณบุศราพร จงเจริญถาวรกุล
(นศ.ปริญญาโท สาขานวัตกรรมเพื่อการคุ้มครองเด็ก)

ตัวอย่างที่ 4

รู้จักโครงงานวิทยาศาสตร์อย่างง่าย
เรื่องเรียนออนไลน์อย่างไรให้มีความสุข
โดย คุณพัชรี แหสมุทร
(นศ.ปริญญาโท สาขานวัตกรรมเพื่อการคุ้มครองเด็ก)

ตัวอย่างที่ 5

ขั้นตอนการทำโครงงานวิทยาศาสตร์อย่างง่าย
โดย คุณมินตรา สนเอี่ยม
(นศ.ปริญญาโท สาขานวัตกรรมเพื่อการคุ้มครองเด็ก)

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

• เกี่ยวกับการประกวดคลิป
คุณมาริสา นิ่มกุล
โทร 082-321—7211
อีเมล marisa.nim@mahidol.edu

• เกี่ยวกับหลักสูตรออนไลน์
คุณบุศราพร จงเจริญถาวรกุล
โทร 089-911-4795
อีเมล busaraporn.cho@mahidol.edu

Mobirise