> ทำไมเด็กต้อง “เล่น”???
 
 
 
     
 
" เพื่อระบายพลังที่มีอยู่อย่างล้นเหลือ"
(Herbert Spencer นักปรัชญาชาวอังกฤษ)
 
     
     
     
 
 
 
 
   
 
เป็นสัญชาตญาณในการเตรียมตัว
เพื่อจะได้มีทักษะ เพื่อเตรียมตัวดำรงชีวิตแบบผู้ใหญ่
( Karl Groos นักปรัชญาชาวเยอรมัน)
   
 
 
 
 

เพื่อเด็กจะได้ระบายความรู้สึกคับข้องใจ
หรือความรู้สึกอันไม่ดีต่างๆ ออกมาในทางที่สังคมยอมรับ
เพื่อช่วยให้พวกเขาชนะความกลัว เช่น กลัวบุคคลหรือ
สิ่งของต่างๆ ถือได้ว่าเป็นการเยียวยา เพื่อไม่ให้เด็กมีปัญหาทางอารมณ์

( Sigmund Freud ปรมาจารย์ด้านจิตวิเคราะห์)

 
 
 
 

การเล่นสัมพันธ์กับการพัฒนาทางด้านสติปัญญา

(Jean Piaget เจ้าของทฤษฏีพัฒนาการเชาวน์ปัญญา)

 
 
     
 

เมื่อพูดถึงการเล่นของเด็กๆ ก็ย่อมจะแทบเป็นไปไม่ได้เลย ที่จะไม่พูดถึง...

“ของเล่น”...จากทารกน้อยที่เพียงชอบเล่นสำรวจร่างกายเนื้อตัวตนเองในช่วงเดือนแรกๆ
กระทั่งวัย 3 เดือนที่กำและถือวัตถุต่างๆที่อยู่ตรงหน้าได้ จากนั้นก็จะเริ่มลุยสำรวจทุกสิ่งทุกอย่าง เมื่อเริ่มคืบ คลาน และเดินได้

เด็กๆเริ่มไขว่คว้าแสวงหาของเล่นอย่างจริงจังเมื่อเขาสู่วัย 1 ขวบ

และหนำซ้ำเมื่อวัย 2–3ขวบ ก็จะติดของเล่นเสมือนว่าพวกมันคือเพื่อนผู้มีชีวิตจิตใจ เช่นเดียวกับตนเอง

 
     
 

ไม่มีเด็กคนไหนไม่ชอบ “ของเล่น” ...ของเล่นเป็นเช่นเพื่อนมหัศจรรย์ที่พาพวกเขาโบยบินไปสู่โลกอันเปี่ยมไปด้วยจินตนาการ

แต่ ...ของเล่น คือ...สาเหตุที่ทำให้เด็กๆต้องได้รับบาดเจ็บถึงปีละ 72,409 ร่ายต่อปี โดยเกือบครึ่ง (34,299 ราย) เกิดจากของเล่นประเภท “เครื่องเล่นในสนามเด็กเล่น”

(จากการศึกษาของ ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอบภัย และป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี )

 
     
 
< ย้อนกลับ