> ความปลอดภัยของเครื่องเล่น
 
   
ความสูง และระยะห่าง
   
 

เมื่อพูดถึงความสูงของเครื่องเล่นกันแล้ว ยังมีเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่จะต้องพิจารณาเพิ่มอีก

เพื่อความปลอดภัยของศีรษะและสมอง นั่นก็คือ เด็กก่อนวัยเรียน(เด็กอนุบาล) ไม่ควรเล่นเครื่องเล่นที่สูงเกิน 1.20 เมตร (วัดจากพื้นสนามถึงพื้นยกระดับของเครื่องเล่นนั้นๆ)

ส่วนเด็กวัยเรียน(เด็กประถม) ไม่ควรเล่นที่สูงเกิน 1.80 เมตร

   
 
   
 

- นอกจากนั้นเครื่องเล่นสำหรับวัยก่อนเรียน ที่มีความสูงของพื้นยกระดับที่สูงมากกว่า 50 เซนติเมตร หรือเครื่องเล่นสำหรับเด็กวัยเรียนทีมีความสูงมากกว่า 75 เซนติเมตร จะต้องมีราวกันตก หรือผนังกันตก

- และควรมีการออกแบบอย่างพิถีพิถันของบันได และราวบันไดชนิดต่างๆ ที่ต้องคำนึงถึงระยะก้าว ระยะโหน รวมทั้งการกำมือเพื่อยึดเหนี่ยวของเด็กในวัยต่างๆ

ช่องว่างของเครื่องเล่นต่างๆจะต้องมีขนาดน้อยกว่า 9 เซนติเมตร เพื่อกันไม่ให้หัวของเด็กลอดเข้าไปได้ หรือ มากกว่า 23 เซนติเมตร เพื่อศีรษะที่ลอดเข้าไปและออกมาได้ โดยไม่ติดค้าง

ส่วนการป้องกันเท้า หรือขาเข้าไปติด จะต้องมีช่องว่างไม่เกิน 3 เซนติเมตร และ ป้องกันนิ้วเข้าไปติด โดยการแหย่หรือลอด จะต้องไม่มีช่องว่างที่อยู่ขนาด 0.5 เซนติเมตร ถึง 1.2 ซม.

   
 
   
 

- น็อต-สกรู ที่ใช้ในการยึดเครื่องเล่นสนาม จะเป็นระบบกันคลาย ต้องออกแบบให้ซ่อนหัวน็อต หรือปลายตัดหัวมนที่มีส่วนยื่นไม่เกิน 8 มิลลิเมตร

- วัสดุที่ใช้ต้องไม่เป็นพิษและมีสารโลหะหนักเจือปนไม่เกินกว่าค่ามาตรฐานในของเล่น

- เครื่องเล่น โดยมากจะมีสีฉูดฉาดแบบการ์ตูน เพื่อดึงดูดใจเด็กๆ แต่หากว่า

สีนั้นลอกหลุดร่อน ก็ควรหลีกเลี่ยงครับ เพราะอาจมีสารตะกั่วปนเปื้อน เมื่อลูกไปสัมผัสเข้า พิษสารตะกั่วก็มีโอกาสเข้าสู่ร่างกาย ส่งผลเสียหายต่อการพัฒนาการทางสมอง

   
 
< พื้นสนามเด็กเล่น
 
     
     
ความปลอดภัยของเครื่องเล่น
> พื้นสนาม
> ความสูงและระยะห่าง
> การตรวจสอบ บำรุงรักษา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
     
< เด็กๆที่ได้รับการบาดเจ็บจากเครื่องเล่น