กิจกรรม Networking และ คิดให้ดัง (Voice)

     
 

วันศุกร์ที่ 25 เมษายน 2557 (Theme คิดเสียงดัง และจัดตั้งชมรม #ก่อน15ไม่ขี่ )
...ในโครงการก่อน15ปีไม่ขับขี่มอเตอร์ไซด์

ณ เจ้าสำราญ บีช รีสอร์ท (ชะอำ) จ.เพชรบุรี

 

1. แนวทาง “แสดงให้เห็นถึงอันตรายของการขับขี่ก่อนวัยเพราะวุฒิภาวะไม่ถึง” และแนวทาง
“พ่อแม่อย่าประมาท”
แนวทางนี้มีทั้งการใช้การ์ตูนแก๊ก, การให้ข้อมูล สถิติการเสียชีวิตต่างๆ ซึ่งเป็นแนวทางแรก
ที่ใช้ในระยะแรกมีการตื่นตัวจากมวลชนถึงสถิติที่สูงกว่าความเข้าใจของคนทั่วไป แต่เมื่อเล่น
แนวทางนี้ไปสักพักก็เกิด feedback ดังนี้
- วัยไหนก็เสี่ยงได้ควรรณรงค์ให้ขับขี่ปลอดภัยแทน
- เริ่มรู้สึกว่าอุบัติเหตุเป็นเรื่องของดวง ที่อาจเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นก็ได้
- หลายคนที่ขับขี่ก็ยังมีชีวิตอยู่ปลอดภัยดียังเป็นเรื่องไกลตัว
- บ้านไกล จะให้ทําอย่างไร
- พ่อแม่บางคนก็ไม่มีทางเลือก
ซึ่งแนวคิดเหล่านี้ไม่ใช่แนวคิดที่ถูกต้อง แต่เมื่อเกิดขึ้นมาแล้วก็ต้องปรับต่อว่าจะมีแนวทาง
ไหนอีกที่ทลายกําแพงทางความคิดของพวกเขาได้

 

 
 

 

 
   
 

2. แนวทาง “เดินทางด้วยทางเลือกอื่น”
แนวทางนี้ใช้ได้ไม่กี่ครั้งก็เกิด feedback ว่าด้วยเรื่องความหลากหลายของพื้นที่ ที่มีปัจจัย
ต่างกัน เพราะผู้ชมมักจะเชื่อมโยงบริบทของข้อมูลเข้ากับพื้นที่ของตนเองเสมอ หากไม่สอดรับกันก็
จะเกิดข้อโต้แย้งหรืออคติในใจ แม้เราต้องการเสนอแค่แนะแนวทางเฉยๆก็ตาม
การเสนอแนวทางนี้จึงเหมาะจะใช้แนะนําคร่าวๆ แต่ไม่ควรตัดสินว่าทางไหนดีกว่า
มอเตอร์ไซค์เพราะจะทําให้เกิดอคติขึ้นได้

 

 

3. แนวทาง “ว่าด้วยกฏหมาย”
แนวทางนี้ใช้ได้กับทุกคน เพราะทุกคนอยู่ใต้กฏหมายเดียวกัน ไม่ว่าคุณจะเห็นด้วยหรือไม่
และการผิดกฏหมายนี้จะนํามาซึ่งความยุ่งยากและความจําเป็นต่างๆในภายหลัง พอเล่นแนวทาง
นี้พบว่าไม่มี feedback ที่เป็นข้อคัดค้าน ชนะทุกข้ออ้าง จึงพัฒนาเป็นแนวทางในข้อต่อไปนี้
3.1 ผิดกฏหมาย > เสียสิทธิอะไรบ้าง > คุ้มเสี่ยงหรือไม่?
เมื่อขับขี่มอเตอร์ไซค์ก่อนวัย จะทําให้ผิดกฏหมาย และเสียสิทธิต่างๆมากมายเมื่อเกิด
อุบัติเหตุขึ้น เช่น ไม่ว่าเขาชนเรา หรือเราชนเขา เราก็ผิด นอกจากนั้นการบาดเจ็บต้องเบิกค่ารักษา
จาก พรบ. ซึ่งต้องใช้ใบขับขี่ในการเบิก เบิกบัตรทองไม่ได้หากจะเบิกบัตรทองต้องจ่ายเองก่อน
15,000 บาท เป็นต้น แนวทางนี้จึงเล่นกับ “ความเสี่ยงทางกายภาพ และทางการเงิน” ว่าหากเกิด
เรื่องขึ้นมามีแต่เสีย (เงิน) กับเสีย (ชีวิต) การดําเนินแนวทางนี้จึงไม่เกิดอคติและทุกคนเห็นพ้องต้อง
กันว่ามันมีผลเสียที่เป็นรูปธรรมเกิดขึ้น เมื่อเปิดใจรับข้อมูลตรงนี้แล้วก็เลยเปิดใจเรื่องความ
ปลอดภัยที่แถมพ่วงไปด้วย
แนวทางนี้ใช้ลดอคติเรื่องไม่มีทางเลือก เพราะคุณต้องเลือกว่าถ้าปล่อยให้ขี่จะเสี่ยงกับอะไร
คุ้มกับการรออีกนิดเพื่อสิทธิที่ดีกว่าดีไหม
3.2 ผิดกฏหมาย > เสียสิทธิอะไรบ้าง > รออีกนิดก็ถูกกฏหมายแล้ว > ถ้าถูกกฏหมายดีอย่างไร
เมื่อพูดถึง “เด็กขี่มอเตอร์ไซค์ไม่ได้เพราะวุฒิภาวะไม่ถึง” วุฒิภาวะในที่นี้มีลักษณะเป็น
นามธรรม หลายคนก็ตีความว่าเมื่อไหร่จะมีวุฒิภาวะต่างกันออกไป นํามาซึ่ง feedback ที่ตั้งคําถาม
ว่าวุฒิภาวะเป็นเรื่องปัจเจก วัดดยาก หรือเรียกร้องผลการวิจัยในเชิงลึกที่ถึงมีก็ไม่สะดวกเล่าทุก
อย่างให้จบอย่างสั้นๆใน 1 ภาพ
แต่เมื่อวุฒิภาวะถูกครอบด้วยกฏหมายแล้ว ทุกคนต้องยอมรับว่า “ 15ปี + ใบขับขี่ ขี่ได้” และ
“ไม่มีใบขับขี่ ขี่ไม่ได้” การพูดถึงวุฒิภาวะให้ชัดด้วยประเด็นด้านกฏหมาย ทําให้ไม่เกิดอคติและข้อ
โต้แย้ง ผนวกกับเรื่อง “สิทธิทางกฏหมายที่จะได้และจะเสีย” นําไปสู่ประเด็น “รออีกนิดก็จะได้ขี่
อย่างสบายใจ” เป็นแนวทางที่ทุกคนยอมรับได้ด้วยเหตุผลเดียวกันที่เข้าใจเหมือนกัน

 

 

4.แนวทางลดอคติ “ก่อน 15 ปีไม่ขี่ ไม่ใช่เรื่องเวอร์”
แนวทางนี้เกิดจากการตีความ feedback ต่อต้านว่า ก่อน 15 ไม่ขี่เป็นไปไม่ได้เพราะคนที่
แสดง feedback แบบนั้นมักจะมีภาพของเด็กที่อายุยังไม่ถึงแต่ “โตพอที่จะขี่” หากตีแนวคิดนี้ให้ลึก
ลงไปอีก เมื่อมี “โตพอ” ก็ต้องมี “เด็กไป” คําถามคือ เมื่อไหร่ที่เด็กไป และเมื่อไหร่ที่โตพอ
หากถามคําถามนี้อาจะได้คําตอบที่แตกต่างกัน แต่โดยรวมแล้วหากคุณรู้สึกว่า 10 ขวบ เด็ก
ไป แต่ 13 โตแล้ว นั่นก็แสดงว่ากลุ่มวัยที่เป็นปัญหาจริงๆอยู่ที่ช่วง 13-14 ปีที่หากรออีกไม่กี่ปีก็จะได้
ขับขี่อย่างถูกกฏหมาย แล้วจะดีกว่าไหมถ้าได้ขี่โดยมีสิทธิประกันคุ้มครองในกรณีที่เกิดเหตุต่างๆ
แนวทางนี้จึงประนีประนอมด้วยการ “ขอให้ชะลอเวลาลงอีกไม่กี่ปีเพื่อสิทธิทางกฏหมาย”
ดังนั้นก่อน 15 ไม่ขี่จึงเป็นไปได้และไม่ใช่เรื่องยากเกินเลย แต่หากกลุ่มเป้าหมายตอบว่า 9 ขวบ โต
พอแล้ว ก็ต้องพูดเรื่องการเสียสิทธิทางกฏหมายแทน

 

 

สรุปแนวทางการรณรงค์ก่อน 15 ไม่ขี่ควรมีแนวทางที่หลากหลายดังนี้
1. แนวทางด้านความปลอดภัยในเด็ก อันเกิดจากความร่วมมือและความเป็นห่วงคนที่เรารัก
2. แนวทางด้านกฏหมาย อันเกิดจากการทราบข้อมูลเรื่องสิทธิที่จะมีและจะเสีย
3. ทุกคนเลือกที่จะขี่ก่อนวัยหรือขี่ถูกกฏหมายก็ได้ไม่มีใครไม่มีทางเลือก ขึ้นอยู่กับคุณเลือกมุมไหน
4. ถ้าไม่ขี่ก่อนวัย มีหนทางอื่นในการเดินทางอย่างไร (ง่ายที่สุดคือ ก่อนขับขี่ทําอย่างไร ก็ทําอย่าง
นั้น)