บ้านปลอดบุหรี่

     
 

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 20 เม.ย.57 ทีมงานศูนย์วิจัยฯนำโดย


รศ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ จัดกิจกรรม บ้านปลอดบุหรี่ และจัดกลุ่มย่อย


เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และส่งเสริมความเข้าใจ


เกี่ยวกับบุหรี่และผลกระทบสุขภาพที่มีต่อเด็ก

 

ควันบุหรี่ส่งผลกระทบด้านสุขภาพต่อตัวผู้สูบและคนไม่สูบ(แต่ได้รับสูดดมควัน)

หรือที่เรียกกันว่า “ควันบุหรี่มือสอง” คือ ควันจากปลายมวนบุหรี่ที่จุดไฟ

และควันที่ผู้สูบบุหรี่สูดเข้าไปและหายใจออกมา ประกอบด้วยสารเคมีมากกว่า 7,000 ชนิด และมีถึง 70 ชนิด

ที่เป็นสารก่อมะเร็ง ควันบุหรี่มีผลต่อผู้สูบและผู้ไม่สูบได้รับควันทั้งในระยะสั้นและระยะยาว และที่สำคัญที่น่าเป็นห่วงมาก

 คือ ควันบุหรี่มีผลต่อเด็ก โดยพบว่า เด็กจะได้รับอันตรายจากควันบุหรี่มือสองมากกว่าผู้ใหญ่ เนื่องจากมีขนาดของร่าง

กายที่เล็กกว่า มีอัตราการหายใจมากกว่า และมีระบบการหายใจร่วมกับระบบภูมือต้านทานที่ยังทำงานได้ไม่เต็มที่  อีกทั้ง

 
 

ควันบุหรี่มือสองสัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคในเด็กหลายอย่าง เช่น การตายอย่างเฉียบพลันในวัยทารก

ทำให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจหลายอย่าง ทำให้อาการหอบหืดแย่ลง ทำให้เกิดโรคของหูชั้นกลาง และทำให้การ

เจริญเติบโตของปอดช้าลง นอกจากนี้เด็กที่ได้รับควันบุหรี่มือสองในบ้านสัมพันธ์กับการเข้ารับบริการที่ห้องฉุกเฉินมากขึ้น

 และต้องนอนโรงพยาบาลนานขึ้น และมีค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพมากขึ้น และที่สำคัญเด็กที่อยู่ในบ้านที่มีคนสูบบุหรี่ก็มีแนว

โน้มที่จะเริ่มสูบบุหรี่ในอนาคตมากกว่า

 

 

จึงเป็นที่มาของการทำวิจัยในโครงการบ้านปลอดบุหรี่เพื่อลดจำนวนผู้สูบบุหรี่ในบ้านแล้วส่งผลกระทบต่อเด็กที่อาศัยใน

บ้าน  โดยได้เริ่มดำเนินการระยะที่ 1 กับกลุ่ม Control group และเข้าสู่ระยะที่ 2 กับกลุ่ม Intervention group เพื่อ

เปรียบเทียบกัน และได้จัดกิจกรรมกลุ่มย่อยครอบครัว เพื่อเพิ่มความรู้ความเข้าใจเรื่องอันตรายจากควันบุหรี่มือสอง แลก

เปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับการไม่สูบบุหรี่ในบ้าน(ที่มีเด็ก) รวมถึงการพยายามเลิกบุหรี่  เพื่อเรียนรู้ร่วมกันและมีกำลังใจ

ที่จะไม่สูบบุหรี่ในบ้านที่มีเด็ก