“รั่ว  ... อันตรายร้ายแรงในบ้าน ...คุณแก้ไขหรือยัง ???

 

บทความโดย  ประจวบ ผลิตผลการพิมพ์

 

       

                “...บ้านเรา แสนสุขใจ แม้จะอยู่ที่ไหน ไม่สุขใจเหมือนบ้านเร…”  เสียงนุ่มๆของ พี่เบริ์ด(ธงชัย แมคอินไตย)ลอยละล่องมาอย่างเพราะพริ้ง  ( เพลงบ้านเรา คำร้อง ชาลี อินทรวิจิตร/ทำนอง สมาน กาญจนะผลิน)  ฟังแล้วช่างสุขใจและร่มเย็นยิ่งนัก  แต่ครั้นวันเวลาผ่านไปผ่านไป แม้บ้านเรายังร่มเย็น แต่ก็ชักจะไม่สุขเหมือนเก่าแล้วสิครับ หากมีบางสิ่งหรือ หลายสิ่งที่เริ่มจะ รั่ว        

 

 

      

 

 

( รั่ว ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงศัพท์แสลงของวัยรุ่นยุคนี้แต่ประการใด แต่คือความหมายในพจนานุกรม คือ...รั่ว(ก.) มีรอยแตก หรือมีรูที่อากาศ หรือของเหลวเข้าออกได้)

                การรั่วเป็นไปได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น หลังคารั่ว ก๊อกน้ำรั่ว ฯลฯ แต่ที่เป็นอันตรายถึงขั้นอาจถึงแก่ชีวิต ซึ่งต้องระวังให้มาก และรีบป้องกันแก้ไขโดยด่วนที่สุด ก็คือ.....

 

 

 

 

แก๊สรั่ว

                ราวกลางเดือนมีนาคมของปีที่แล้ว ได้เกิดกรณีร้านขายอาหารตามสั่งร้านหนึ่งย่านเจริญกรุง แก๊สหุงต้มระเบิดตูม ทำให้ประตูกับผนังกระจกของร้านแตกกระจัดกระจาย ผนังไม้กั้นระหว่างห้องครัวกับโต๊ะรับประทานอาหารถูกแรงระเบิดจนบิดเบี้ยวผิดรูป  ส่วนเจ้าของร้านและลูกจ้างสาวโดนไปลวกที่ใบหน้าและแขน  สาเหตุเนื่องมาจากการลืมปิดวาล์วถังแก๊ส  ในขณะที่ภายในร้านเป็นห้องกระจกปิดทึบไม่มีที่ระบายอากาศ  แก๊สทีรั่วออกมาจึงสะสมอยู่ในร้านตลอดทั้งคืน  เมื่อเจ้าของร้านเข้ามาจุดเตาแก๊สในตอนเช้าไฟจึงลุกพรึบขึ้น จากนั้นก็เกิดระเบิดขึ้น ทำให้ได้รับบาดเจ็บและข้าวของพังยับดังกล่าว

 

 

 

           ความสะดวกสบายประเภทเปิดปุ๊บติดปั๊บของแก๊สหุงต้ม ทำให้เชื้อเพลิงชนิดนี้ เป็นที่นิยมของร้านอาหารและในครัวเรือนอย่างไม่เสื่อมคลาย แม้ว่าปัญหาแก๊สรั่วจะถือได้ว่าเป็น “ภัยใกล้ตัว ที่ไม่ควรมองข้าม”

 

                    เนื่องจากคุณสมบัติ(ที่มักกลายเป็นโทษสมบัติ) ของมันก็คือความไวไฟ(ติดไฟได้อย่างรวดเร็ว ) การระเบิดหรือเกิดไฟลุกไหม้จึงเป็นความเสี่ยงอย่างยิ่งหากผู้ใช้ตกอยู่ในความประมาทหรือใช้ไม่ถูกวิธี

 

 

                    1…ปิดวาล์วตรงถังแก๊สทุกครั้งหลังการใช้งาน ซึ่งไม่น่าเชื่อว่ามักมีคนลืมปืดวาล์ว (หรือปิดไม่สนิท )อยู่เสมอ ดังนั้น เพื่อความปลอดภัย และไม่เกิดเป็นปัญหาร้ายแรงตามมา จึงต้องฝึกทำให้เป็นกิจวัตรที่ห้ามลืมโดยเด็ดขาด (ปิดวาล์วแก๊สที่ถังเสียก่อนและค่อยปิดวาล์วที่หัวเตา เพื่อลดความดันก๊าซที่ค้างอยู่ในท่อก๊าซให้หมดไป)

 

 

                    2…เมื่อจะใช้เตาแก๊ส ก็ควรหมั่นตรวจตราอยู่เสมอ เช่นเกลียวของวาล์วเปิด-ปิด ว่ายังใช้ได้หรือไม่ (เปิด-ปิดสนิทดีอยู่หรือไม่) สายอ่อนนำแก๊สหักงอหรือไม่ ถ้าส่วนใดมีปัญหาก็ให้แก้ไขหรือ

เปลี่ยนใหม่ทันที

 

                     3…เมื่อแก๊สรั่ว เรามักจะรู้โดยการได้กลิ่น (กลิ่นแก๊สก็คือ กลิ่นเดียวกับการจุดไฟแช๊ก แล้วมาอังที่จมูก) หากอยากจะรู้ให้แน่ๆก็โดยการนำน้ำยาล้างจาน หรือน้ำสบู่ไปลูบๆตามจุดต่าง ๆ เช่น วาล์ว ถังแก๊ส แกนลูกบิดสำหรับเปิด-ปิดเตาแก๊ส ที่สายอ่อนนำแก๊ส และบริเวณข้อต่อต่าง ๆ ถ้ามันเกิดฟองอากาศปุดๆขึ้น นั่นก็แน่แล้วว่าเกิดการรั่วซึมของแก๊ส

 

 

·                     4…ถ้าได้กลิ่นแก๊สรั่ว สิ่งที่ต้องรีบทำก็คือ อย่าตกใจจนเกินเหตุ ให้ตั้งสติให้ดี แล้วเช็คดูว่าว่าสิ่งที่เสี่ยงจะเกิดเป็นประกายไฟต้องดับหรือปิดให้หมด  เช่น เช่น บุหรี่ เทียนไข ไฟแช๊ก ส่วนบรรดาเครื่องใช้ไฟฟ้า ก็ต้องปิดให้หมด เพราะมันอาจจะเกิดเป็นประกายไฟได้เสมอ ( แม้แต่พัดลมก็ควรปิด และห้ามนำมาเปิดไล่แก๊ส เพราะเสี่ยงต่อการเกิดประกายไฟ)

 

                    5...เปิดหน้าต่าง ประตูทุกบานให้มีอากาศถ่ายเท และเพื่อให้แก๊สระบายออกไปให้เร็วที่สุด และหากห้องนั้นเป็นห้องทึบ หรือระบายช้า  (ถังแก๊สจึงควรติดตั้งในห้องหรือสถานที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก  )และเพื่อคุณจะได้ไม่หมดสติเพราะสูดดมกลิ่นแก๊สเข้าไปมาก ให้ก้มตัวต่ำๆ แล้วใช้เผ้าชุบน้ำมาปิดปาก ปิดจมูกไว้  จากนั้นก็เข้าไปปิดวาล์ว กรณีถังแก๊สรั่ว ให้ใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำพันแล้วรีบยกถังไปที่โล่ง(ให้จุดที่รั่วอยู่ด้านบน) แล้วรีบโทรติดต่อให้ผู้ชำนาญการ หรือร้านขายแก๊สมาแก้ไข(หรือเปลี่ยน)ให้ปลอดภัยทันที หรือหากเหตุการณ์ยังไม่ดีขึ้นหรือเลวร้ายลงให้รีบโทรแจ้งหน่วยฉุกเฉิน( 191 , 199) ทันที

 

 

 

 

สายไฟรั่ว

 

                เมื่อปีที่แล้วอีกเช่นกัน วันที่ 8 ตุลาคม หลังเลิกเรียน เด็กชายวัย12 ปีคนหนึ่งกำลังจะเดินทางกลับบ้าน เมื่อผ่านหน้าตึกนักเรียนชั้นอนุบาล บังเอิญพบสายไฟเส้นยาวๆระโยงระยางขวางถนนอยู่  (มันคือสายโทรศัพท์เก่าเกาะคู่กับสายไฟฟ้า  ที่ก่อนหน้านั้นในขณะที่ฝนตกหนักและมีรถสองแถวซึ่ง วิ่งผ่านหน้าอาคารอนุบาล แล้วหลังคารถไปเฉี่ยวมีสายโทรศัพท์ ที่เชื่อมเป็นสายลำโพงแทน จนขาดตกลงกับพื้น )

 

                ด้วยความหวังดีเกรงว่าอาจทำอันตรายน้องๆอนุบาล จึงลากสายไฟนั้น จะมาไว้ข้างทาง แต่ปรากฏว่า กลับถูกไฟช็อตเข้าที่ฝ่ามือ แล้วไฟฟ้าก็ตรงไปสู่หัวใจ ทำให้เสียชีวิตเพราะหัวใจวายอย่างเฉียบพลัน !

                 แม้เหตุร้ายข้างต้นจะเกิดขึ้นในที่สาธารณะ แต่จริงๆแล้ว ในบ้านซะอีกทีมีโอกาสเกิดไฟรั่ว ไฟช๊อต เนื่องจากทุกบ้านนั้นเต็มไปด้วยเครื่องใช้ไฟฟ้าสารพัด ดังนั้นจึงจะต้องหมั่นตรวจตราอย่าให้สายไฟชำรุด หรือเก่าจนฉนวนหุ้มเปลือยปริแตก เพราะสายไฟอาจเกิดการสัมผัสกัน จนกระแสไฟฟ้ารั่ว(ไฟฟ้าลัดวงจร)

 

                   หากฉนวนที่ใช้ห่อหุ้ม ใช้พัน ใช้รองหรือใช้คั่นส่วนที่มีแรงดันไฟฟ้าเกิดชำรุด หรือเสื่อมสภาพ ก็ย่อมเสี่ยงต่อการเกิดไฟช๊อต เพราะกระแสไฟฟ้ารั่วได้เช่นเดียวกัน นอกจากเกิดไฟดูดไฟช๊อตแล้ว โอกาสที่จะเกิดความร้อนสูงขึ้นกระทั่งเกิดไฟไหม้ ก็เป็นความเสี่ยงที่ต้องระวังให้มาก

 

                ดังนั้นจึงต้องหมั่นตรวจสอบเสมอ อย่าให้มีสายไฟในบ้านเส้นใดเก่า เสื่อม หรือหักงอ ถ้าหากพบเข้าให้ทุกคนหลีกให้ห่างไว้ สับสวิทซ์ไฟเพื่อตัดความเสี่ยงการโดนไฟช๊อต แล้วตามช่างผู้ชำนาญมาแก้ไขเปลี่ยนใหม่โดยเร็วครับ

 

 

กรณีโดนไฟดูด 
ยิ่งถ้าเป็นลูกของเรา พ่อแม่มักจะตกใจ และความรีบร้อนช่วยลูกจึงเข้าไปฉุดมือดึงแขน
หรือดึงตัวลูกโดยทันที ซึ่งนั่นเท่ากับนำตัวเองไปเป็นเหยื่อไฟช็อตอีกคน โดยหมดโอกาสที่จะช่วยทั้งชีวิตลูกและตนเอง

 

หนทางที่ถูกต้องก็คือ ...

      1.1)  ก่อนอื่นจะต้องตัดทางเดินกระแสไฟฟ้า โดยการสับฟิวส์,ยกคัทเอ๊าท์ลง หรือดึงปลั๊กออก( การปิดสวิตซ์ในตัวเครื่องไฟฟ้าแต่เพียงอย่างเดียวจะไม่ได้ผล เพราะยังไม่ตัดกระแสไฟที่เข้าสู่ตัวเครื่อง)


1.2)  หากยังไม่สามารถตัดทางเดินกระแสไฟได้ทันทีให้หาวัตถุที่ไม่เป็นสื่อไฟฟ้า  เช่น ไม้แห้งๆ,เชือก,สายยาง,แผ่นยาง,เก้าอี้ไม้ หรือ ผ้าห่ม คล้อง-ดึง หรือผลักผู้ที่โดนไฟดูด ให้หลุดพ้นากจุดที่โดนดูด และเพื่อความปลอดภัย ผู้ที่ช่วยเหลือควรยืนอยู่บนพื้นที่แห้ง


      1.3) หลังจากที่ช่วยผุ้เคราะห์ร้ายออกมาจากไฟดูดได้แล้ว ถ้าพบว่าเขาไม่หายใจ,หัวใจไม่เต้น ก็ต้องกระตุ้นกันล่ะครับ โดยการเป่าปาก และกดทรวงอก

 

 

*** มีทั้งเด็ก และผู้ใหญ่ไม่น้อยเลยที่ต้องเสียชีวิต
เพราะมัวแต่เสียเวลากับการปฐมพยาบาลอย่างผิดๆ ที่พบบ่อยๆก็คือ
การอุ้มคนเพิ่งโดนไฟดูดไปวางบนแผ่นสังกะสี แล้วราดด้วยน้ำเย็น 
บางรายก็เอาทรายมากลบตัว ตามด้วยการเทเหล้าขาวราด 
โดยเข้าใจผิดๆคิดว่า นั่นเป็นการลดประแสไฟ-ดับความร้อน)
พอเห็นว่าไม่ฟื้นก็ยังอุตส่าห์เป่าปาก หรือปั้มหัวใจ(อย่างผิดๆ)
ยิ่งบางรายยิ่งแล้วใหญ่ ทำอยู่หลายวิธีก็ไม่ฟื้นแต่ก็ยังฝืนทำอยู่นั่นแล้ว
กระทั่งเวลาผ่านไป 3-4ชั่วโมง จึงนำผู้บาดเจ็บไปส่งโรงพย
าบาล