Version 2.50
         
         
         
         
         
       
         
         
         
         
         
         
         
         
::
::
::
::
::
 

มาช่วยกัน...
ลดความตายในเด็กๆ จาก มอเตอร์ไซด์ !!!!

...ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก
คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี ขอเรียนเชิญท่านผู้สื่อข่าวทุกแขนง......

“...สถิติจากห้องฉุก เฉินของโรงพยาบาลทั่วไป พบว่า
มีเด็กๆได้รับบาดเจ็บจากการจราจร ปีละ 2 แสนกว่าคน
โดยมีสาเหตุอันเกี่ยวเนื่องกับจักรยานยนต์ถึง 1 แสนกว่าราย !!!
ผู้ขับขี่ และผู้ซ้อนท้ายจักรยานยนต์มีความ เสี่ยงต่อการบาดเจ็บและ
การตายสูงกว่าการโดยสารรถยนต์ ทั่วไปถึง 50 เท่า

ทั้งๆที่ตัวเลขการตายการบาดเจ็บสูงอย่างน่ากลัวเช่นนี้
เราก็ยังคงปล่อยปละให้เด็กๆที่วัยยังไม่ถึง 2 ขวบโดยสารรถจักรยานยนต์ หรือ
เด็ก 2–6ขวบก็โดยสารได้ทั้งที่ไม่มีอุปกรณ์ป้องกันเพื่อความปลอดภัยใดๆทั้งสิ้น

ส่วนเด็กที่วัยไม่ถึง 18 ก็ยังขับขี่รถจักรยานยนต์กันอย่างฉวัดเฉวียน
โดยไม่มีการเข้มงวดเรื่องของกำลัง แรงของเครื่องยนต์แต่อย่างใด
การซ้อน3 ซ้อน4ก็ยังมีให้พบเห็นทั้งบนท้องถนนและบนหน้าข่าวอุบัติเหตุ!

ด้วยเหตุนี้ ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก
คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี

จึงมีความประสงค์อย่างยิ่งที่จะขอเรียนเชิญท่านสื่อมวลชนทุกแขนง
ได้ร่วมกันมาระดมความคิดเห็นยังเวทีวิพากษ์นี้ เพื่อรวบรวมเป็นข้อเสนอในการปรับ
เปลี่ยนกฏข้อบังคับและการ ดำเนินการเพื่อความปลอดภัยของ เด็กๆจากภัยรถจักรยานยนต์

   
 
 

ข้อเสนอ
(ประเภทเป็นผู้โดยสาร / ผู้ขับขี่)
ข้อเสนอเพื่อความปลอดภัย
ขั้นสูง ข้อเสนอเพื่อความปลอดภัย
ขั้นต่ำ (ที่ยอมรับได้)

1) การโดยสารในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ห้ามโดยสารรถจักรยานยนต์
โดยไม่มี ข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น
2) การโดยสารในเด็กอายุ 2 - 6 ปี ห้ามโดยสารรถจักรยานยนต์

ห้ามโดยสารรถจักรยานยนต์ ยกเว้น ถ้ามีการปฏิบัติ ดังนี้
1. ติดตั้งระบบยึดเหนี่ยวป้องกันเด็กตกจากรถจักรยานยนต์
2. สวมหมวกนิรภัยให้เด็กทุกครั้ง
3. ให้เด็กสวมใส่เครื่องแต่งกายที่ เหมาะสมและได้มาตรฐาน เช่น
เสื้อหนัง / แขนยาว กางเกงขายาว รองเท้าผ้าใบ / ยาง

3) การขับขี่ในเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ห้ามขับขี่รถจักรยานยนต์
ออกใบอนุญาตขับขี่แบบ
Graduated driving licence 2ระดับ
คือ ใบขับขี่สำหรับเด็กอายุ 13-15 ปี และ 16-18 ปี
โดยมีเงื่อนไข ...

1. จำกัดขนาดกระบอกสูบรถ
2. ช่วงเวลาขับขี่
3. ถนนที่ขับขี่
4. ผู้ควบคุมการขับขี่ เช่น มีผู้ปกครองโดยสารไปด้วยทุกครั้ง /
ผู้ปกครองลงนามอนุญาตทุกครั้งที่จะขับขี่
5. จำกัดผู้โดยสาร เช่น ห้ามมีเด็กหรือเพื่อนซ้อนท้าย

 
 
 
 
   
   
  ประจวบ ผลิตผลการพิมพ์ ฝ่ายสื่อสารสาธารณะ
ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก
คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี
02-6449080-81 ต่อ 16 / 086-7002206